Minecraft Wiki

Minecraft Wiki ภาษาไทยกำลังจะย้ายออกจาก Fandom ตามภาษาอังกฤษในเร็ว ๆ นี้ ดูที่หน้านี้และ Discord สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

READ MORE

Minecraft Wiki
Advertisement
Minecraft Launcher
2019Launcher
ผู้พัฒนา

Nathan Adams
Petr Mrázek‎

แพลตฟอร์ม

WindowsmacOSLinux

ภาษา

C++[1]

เวอร์ชันปัจจุบัน

Windows 2.8.2
macOS 2.8.2
Linux 2.8.2

Minecraft launcher (ไมน์คราฟต์ลันเชอร์; แปลตามตัว: ตัวเริ่มไมน์คราฟต์) คือโปรแกรมที่ใช้เริ่มระบบเกม Minecraft ลันเชอร์รับหน้าที่ในการล็อกอิน นำเข้าข้อมูลรวมถึงข่าวสารจากอินเทอร์เน็ตที่จำเป็นสำหรับเกม และเป็นตัวเริ่มโปรแกรมเกมจริง (หรือเรียก ผู้รับบริการ: client)

นอกจากนี้ลันเชอร์ยังทำหน้าที่ติดตั้งอัปเดตเกมโดยอัตโนมัติ และยังเปิดโอกาสให้ผู้เล่นสามารถเล่นเกมในเวอร์ชันเก่าได้จนถึงกระทั่งเฟส pre-Classic รวมถึงเวอร์ชันเบตาเกือบทุกเวอร์ชัน

ประวัติ

บทความหลัก: เวอร์ชันของลันเชอร์
รุ่น Java Alpha
v1.0.0การปล่อยเบื้องต้น ลันเชอร์ในเวอร์ชันนี้ผู้ใช้สามารถเลือกเล่นเวอร์ชัน Infdev ได้ นอกเหนือจากเวอร์ชันปัจจุบัน
ผู้ใช้บริการต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในการเริ่มโปรแกรมครั้งแรกและเมื่อต้องการอัปเดต นอกจากนั้นเกมสามารถเล่นแบบออฟไลน์ได้
สามารถใช้อาร์กิวเมนต์รายคำสั่ง (command line argument) เพื่อเริ่มตัวเกมได้ โดยใช้รูปแบบดังนี้ java -cp Minecraft.jar net.minecraft.LauncherFrame username password (ล็อกอินโดยไม่เข้าร่วมเซิร์ฟเวอร์) หรือรูปแบบ java -cp minecraft.jar net.minecraft.LauncherFrame username password serveraddress:portnumber (เข้าร่วมเซิร์ฟเวอร์ได้)
v1.2.2เปลี่ยนรูปแบบอาร์กิวเมนต์รายคำสั่ง
รุ่น Java Beta
1.3ปล่อยเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554[2] โดย Notch ได้ทำการหยั่งผลก่อนฉายจริงทางเทคนิค (technical sneak preview) ก่อนหน้าเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์[3] เพิ่มความสามารถในการล็อกอินเข้าเกมและ/หรือเซิร์ฟเวอร์โดยอัตโนมัติโดยใช้อาร์กิวเมนต์รายคำสั่ง
เพิ่มระบบการอัปเดตที่อัจฉริยะมากขึ้น ซึ่งจะอัปเดตเฉพาะไฟล์ที่เปลี่ยนแปลง ให้ผู้ใช้อัปเดตโดยทันที สามารถล็อกอินแบบ HTTPS โดยมีการเชื่อมต่อที่ปลอดภัยมากขึ้น และเสนอการพัฒนาส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ทั่วไป (general UI) ให้ดีขึ้น
เชื่อมต่อกับสารบบติดตั้ง Minecraft เพื่อให้เข้าถึงง่าย
เพิ่มปุ่ม Force Update ใต้คำโต้ตอบ Options
ลันเชอร์สามารถแสดงข้อความ "changelog" โดยผ่านทาง Tumblr เรียกว่า MCUpdate และสนับสนุนอาร์กิวเมนต์รายคำสั่ง[4]
เพิ่มโลโก้ไมน์คราฟต์ใหม่
เพิ่มลิงก์เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ ศาลาประชาคม และ Mojang บนลิงก์ทวิตเตอร์
รุ่น Java
1.2.1เลือกการติดตั้งจาวา 64 บิตสำหรับผู้ใช้ macOS อย่างเหมาะสม[5]
1.3.2เพิ่มความสามารถในการเริ่ม demo mode สำหรับผู้ใช้ที่ไม่ได้สมัครพรีเมียม
1.6.113w16aเพิ่มลันเชอร์ตัวใหม่ (ดูเพิ่มที่เวอร์ชันของลันเชอร์)

อ้างอิง

Hju

Advertisement