Minecraft Wiki

Minecraft Wiki ภาษาไทยกำลังจะย้ายออกจาก Fandom ตามภาษาอังกฤษในเร็ว ๆ นี้ ดูที่หน้านี้และ Discord สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

READ MORE

Minecraft Wiki
Register
Advertisement
หลักเกณฑ์/ข้อกำหนดในการเขียนอยู่ในระหว่างการปรับปรุงและหารือเพิ่มเติม 
หากมีข้อสงสัยหรือข้อเสนอแนะให้ติดต่อเข้ามาที่ Discord (แชต #ไทย) หรือในหน้า คุยกับผู้ใช้:Prem4826

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะจัดทำคู่มือสำหรับคำแนะนำในการเขียน สำหรับทุกบทความใน Minecraft Wiki ในการเป็นแนวทาง มักจะสามารถพบของพิพาทถึงรูปแบบการเขียนแบบใด เป็นแบบที่ถูกต้องและเหมาะสมอยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นโปรดใช้แนวทางการเขียนที่ได้เขียนขึ้นมานี้เป็นแนวทางเดียวกัน เพื่มแก้ไขข้อพิพาทเหล่านี้และเพื่อให้ได้ฉันทามติอันเป็นหนึ่งเดียวกัน

ถึงแม้ว่าวิกิพีเดียจะได้ออกคู่มือการเขียนเป็นของตัวเอง, แต่คำแนะนำในการเขียนนี้จะพูดเจาะจงถึงสิ่งที่จำเป็นสำหรับเกม Minecraft เช่นนั้นแล้ว, คำแนะนำแนวทางการเขียนที่เกี่ยวข้องกับ Minecraft Wiki และรวมถึงกฎการจัดรูปแบบของหน้าบทความพื้นฐานจะถูกรวบไว้ในคำแนะนำนี้

ความโดดเด่น[]

บทความได้รับอนุญาตในเนมสเปซหลักเท่านั้นถ้าตรงกับเกณฑ์ต่อไปนี้ บทความที่ไม่ตรงกับเกณฑ์อาจถูกลบโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

ทั่วไป
  1. บทความต้องมีข้อมูลเพียงพอที่จะประกันว่าจะมีเนื้อหาได้อย่างเต็มหน้า ซึ่งถ้าบทความมีเนื้อหาไม่เพียงพอ บทความนั้นอาจถูกรวมเข้ากับบทความที่คล้ายกันได้
  2. บทความต้องมีความเกี่ยวข้องกับ Minecraft ทางใดทางหนึ่ง
  3. บทความที่เกี่ยวกับบุคคลนั้น อนุญาติเฉพาะเพียงบุคคลที่เป็นนักพ้ฒนาของเกม Minecraft และ/หรือบุคคลอื่นที่มีความเกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Mojang Studios เท่านั้น
  4. ฟีเจอร์ที่ไม่ได้อยู่ในตัวเกมเวอร์ชั่นปัจจุบันอีกต่อไป ควรอยู่ในหน้าบทความ ฟีเจอร์ที่เคยพูดถึง
    1. ยกเว้นฟีเจอร์ที่โดนลบ หรือเป็นฟีเจอร์จากรุ่นพัฒนา ซึ่งอาจพบได้ในหน้าของเวอร์ชั่นที่มีฟีเจอร์นี้
  5. บทความที่เกี่ยวข้องกับเวอร์ชั่นต่างๆ ของ Minecraft อาจถูกสร้างสำหรับรุ่นที่ได้รับการเผยแพร่ ซึ่งหน้าบทความเหล่านั้นควรสร้างแยกตามเวอร์ชั่นการพัฒนาที่มี
    1. เวอร์ชั่นที่ยังไม่ถูกเผยแพร่นั้นอาจถูกสร้างขึ้น เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญของการมีอยู่ของรุ่นที่ยังไม่ถูกเผยแพร่นั้น แหล่งที่มารวมถึงเวอร์ชันการพัฒนาหรือคุณสมบัติหลายแหล่งสำหรับการอัปเดตครั้งต่อไป ซึ่งหน้าของเวอร์ชั่นที่อยู่ในระหว่างการพัฒนานั้นยังไม่ควรถูกสร้างขึ้น แต่ควรไปอยู่ในหน้าย่อยของหน้าเวอร์ชั่นที่ได้วางแผนไว้
    2. ในรุ่นต่างๆของ Legacy Console ควรเขียนอยู่ในหน้า ประวัติเวอร์ชั่นของรุ่น Legacy Console รุ่นสำหรับ PlayStation 4 ที่มีความกำกวมกับรุ่นอื่นใน legacy editions (หลัง-1.82) อาจมีหน้าแยกเป็นของตัวเอง
    3. รุ่นต่างๆของ Minecraft launcher ควรเขียนอยู่ในหน้า Minecrat launcher#ประวัติ ถ้าในแชแนลล็อกนั้นมีความยาวมาก หรือมีรุ่นการพัฒนาที่มากเกินไป อาจสามารถสร้างหน้าบทความแยกออกมาได้ โดยชื่อของหน้าบทความต้องนำหน้าด้วย "Minecraft Launcher" แล้วถ้าเลขของเวอร์ชั่นนั้นประกอบไปด้วยตัวเลขหลายตัวเลข ให้เปลี่ยนตัวเลขที่ต่างกันเหล่านั้นเป็น "x"
ประชาคม
  1. กลยุทธ์ต่างๆ วิธีการ คู่มือต่างๆ ฯลฯ ควรเป็นเป็นบทความย่อยในหน้่า คู่มือสอนเล่น
    1. หน้าที่ประกอบไปด้วยรายการสร้างเบ็ดเตล็ดต่างๆ นั้นไม่ได้ถือว่าเป็นคู่มือสอนเล่น โดยบทความเหล่านี้ควรบันทึกไว้ภายในหน้าของผู้ใช้เอง ซึ่งจะรวมถึงหน้ากิจกรรมต่างๆ ของผู้เล่น และการท้าทายต่างๆ
  2. Minigames นั้นจะอนุญาติให้เพิ่มเข้ามาหลังจากที่ Mojang Studios อ้างว่าเล่นแล้วเท่านั้น
  3. บทความเกี่ยวกับไคลเอนต์ หรือเซิร์ฟเวอร์, ม็อดต่างๆ, หรือโปรแกรมบุคคลที่สามอื่น ๆ และโปรแกรมแก้ไขแผนนั้นไม่ได้รับอนุญาตให้สร้างบนวิกินี้
    1. บทความดังกล่าวควรสงวนไว้ใน Feed the Beast Wiki, ซึ่งเป็นวิกิที่มุ่งเน้นไปยังเอกสารกับกับม็อดต่างๆ
    2. ในขณะที่หลายหน้านั้นที่เกี่ยวกับม็อดนั้นอาจยังสามารถพบได้ในวิกินี้(ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ภายในหน้าย่อยของหน้า Mods และ Programs and editors), ซึ่งหน้าเหล่านี้ถูกเก็บไว้เพราะวัตถุประสงค์ดั้งเดิมที่สืบทอดกันมา และกำลังอยู่ในส่งออกไปยัง FTB Wiki เพื่อการจัดการที่ดีกว่า
  4. บทความเกี่ยวกับเซิร์ฟเวอร์ที่สร้า่งขึ้นมานั้นไม่ควรสร้างขึ้นมาในวิกินี้
    1. บทความดังกล่าวนี้จะเหมาะสมกว่าหากไปเขียนอยู่ในหน้า Minecraft Servers wiki, เนื่องจากวิกินี้ออกแบบมาเพื่อการเขียนข้อมูลเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ
กฎระเบียบของวิกิ
 4.  ห้ามสร้างบทคามที่เป็นการใช้ข้อมูลเพื่อการล้อเลียน/ตลก/ไร้สาระ/หลอกลวง เพราะจะเป็นการทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิด
 5.  ห้ามโฆษณาใด ๆ ทั้งสิ้น (เช่น IP เซิร์ฟเวอร์ต่าง ๆ)
 6.  ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนของแฟนคลับไม่อนุญาตในวิกิ เพราะถือว่าเป็นการโฆษณา

บทความต่าๆในเนมสเปซ "User:" นั้นจะได้รับข้อยกเว้นจากกฎเกณฑ์ความโดดเด่น ซึ่งสามารถใช้เขียนได้ในวัตถุประสงค์ ซึ่งยังคงต้องอยู่ภายใต้กฎต่างๆ จากกฎระเบียบของวิกิ อย่างไรก็ตาม ยังขอแนะนำอย่างยิ่งให้ทำการจัดระเบียบ เก็บกวาดหน้านี้ให้ดี เพื่อไม่ให้เกิดการอุดตันในหมวดหมู่บำรุงรักษา, เช่นหน้าของผู้ใช้ที่ถูกทำให้กลับไปว่างอีกครั้ง หลังจากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของผู้ใช้เป็นระยะหนึ่ง

การเปลี่ยนทาง[]

ดูเพิ่มเติมที่: Minecraft Wiki:Projects/Redirect cleanup

การเปลี่ยนทางนั้นได้รับจากกฎความโดดเด่นทั่วไป แต่ต้องทำการเปลี่ยนทางไปยังหน้าที่ถูกต้องตามกฎความโดดเด่นอยู่ดี ซึ่งถ้าตัวเปลี่ยนทางนั้นจะเปลี่ยนทางไปยังวิกิอื่น ควรจะใช้แม่แบบ {{soft redirect}} ซี่งการเปลี่ยนทางสามารถสร้างขึ้นได้ หากตรงกับข้อใดดังต้อไปนี้:

  1. การสะกดแบบอื่นของชื่อหน้า ที่มีความหมายเดียวกันเช่น "Armour" ในกรณี "Armor"
    1. การสะกดที่ผิด การสะกดที่ผิดพลาดนั้น ไม่อนุญาต
  2. ชื่อแบบสั่น หรือชื่ออื่นๆ ที่มักใช้โดยทั่วไป เช่น "เป็ด" ในกรณีสำหรับ "ไก่" หรือชื่อเรียกจากในอดีต และเปลี่ยนชื่อใหม่ในปัจจุบัน เช่น "Workbench" ไปเป็น "Crafting Table"
    1. นี่รวมถึงชื่อจริง หรือชื่อเล่นของพนักงาน Mojang เช่น "Nathan" หรือ "Dinnerbone" เปลี่ยนไปเป็น "Nathan Adams" เป็นต้น
  3. ชื่อบทความก่อนหน้า รวมถึงบทความที่ถูกย้ายไปยังวิกิอื่น
    1. ยกเว้น หากชื่อบทความก่อนหน้านั้นไม่เป็นที่นิยมใช้
  4. ชื่อของบทความที่เป็นภาษาอังกฤษ เช่น จาก Emerald เปลี่ยนหน้าไปเป็น มรกต เป็นต้น
    1. โดยชื่อภาษาอังกฤษนั้นต้องมีทั้งคำนามเอกพจน์ และพหุพจน์ด้วย(การเติม s,es เป็นต้น) หรือการเขียนในตัวพิมพ์ใหญ่
  5. หน้ารวมของบทความหลักเช่นจาก ขวานเพชร ไปหน้า ขวาน เป็นต้น

การเปลี่ยนทางในหน้าของผู้ใช้นั้นสามารถเปลี่ยนทางไปยังหน้าใดก็ได้ ยกเว้นย้ายหน้าไปยังหน้าที่ไม่มีอยู่

ชื่อบทความ[]

ชื่อบทความนั้นควรอยู่ในรูปแบบเอกพจน์เพื่อรักษาความมั่นคงของชื่อ

บทความควรยึดมั่นตามแนวทางการตั้งชื่อบทความนี้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับชนิด

  • บทความที่เกี่ยวกับบล็อก, ไอเทม และเอนทิตี้นั้นควรใช้ชื่อที่ปรากฎในตัวเกมภาษาไทย รวมถึงชื่อการร่ายมนตร์ต่าง ๆ และควรอัพเดทให้ตรงกับเกมเวอร์ชั่นล่าสุดเสมอ
    • ซึ่งจะยกเว้นคำศัพท์ที่เขียนผิดจากในตัวเกม เช่น ในตัวเกมให้ชื่อของสีย้อมสีเทาเข้ม เป็น "สียอมสีเทาเข้ม" ซึ่งเป็นการสะกดที่ไม่ถูกต้อง อนุญาตให้เปลี่ยนแปลงไปเป็นคำสะกดที่ถูกต้องในวิกินี้ได้ แต่โปรดใส่แม่แบบระวังสับสนไว้ที่ด้านบนสุดของหน้า
    • ซึ่งถ้าในบางคำศัพท์นั้นไม่สามารถพบเห็นได้จากในตัวเกม อนุญาตให้บัญญัติขึ้นมาใหม่ได้ แต่ต้องมีความเป็นทางการ การสะกดที่ถูกต้อง และได้รับความยอมรับจากคนหมู่มาก เช่น โครงกระดูกขี่แมงมุม (Spider Jockey)
    • ถ้าบทความนั้นพูดถึงสิ่งหลายสิ่งในเกม ชื่อของบทความก็ควรต้องเสนอทุกสิ่งนั้นอย่างเท่า ๆ กัน เช่น บทความที่เกี่ยวกับประตูไม้ต่าง ๆ และประตูเหล็ก จะใช้ชื่อว่าประตู เป็นต้น
  • หากคำศัพท์นั้นใช้การทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ ให้สะกดเป็นภาษาไทยให้ถูกต้องตามการทับศัพท์ภาษาอังกฤษของวิกิพีเดียภาษาไทย เช่น อิลลูชันเนอร์ (Illusioner)
  • บทความเกี่ยวกับบุคคลควรประกอบไปด้วยชื่อจริงและนามสกุล ไม่ควรตั้งตามชื่อบัญชีทวิตเตอร์หรือบัญชีไมน์คราฟต์ และให้ใช้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ เช่น Markus Persson
  • บทความเกี่ยวกับบริษัทหรือเกม ให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ เช่น Minecraft, Mojang Studios
  • เวอร์ชันของรุ่น Java (Java Edition) ควรตั้งชื่อเริ่มต้นด้วยด้วย "รุ่น Java" และตามด้วยหมายเลขรุ่น (เช่น รุ่น Java 1.8)
  • ในเวอร์ชันต่าง ๆ ของรุ่น Bedrock ควรมีคำว่า "Bedrock" ประกอบอยู่ ยกตัวอย่างเช่นการอัปเดต "1.2.1" ควรตั้งชื่อเป็น "รุ่น Bedrock 1.2.1"
    • รุ่นการพัฒนา Bedrock บิลด์ต่าง ๆ (Bedrock Edition development builds) นั้นควรประกอบด้วยคำว่า "beta" ก่อนการพิมพ์ตัวเลขรุ่น เช่น ในรุ่น "1.2.0.9" ควรตั้งชื่อเป็น "รุ่น Bedrock beta 1.2.0.9"
  • ควรระบุชื่อรุ่นของรุ่นอื่น ๆ ก่อนการพิมพ์ตัวเลขรุ่น เช่น ในรุ่นการอัปเดต "1.0.27" สำหรับรุ่นสำหรับการศึกษา ควรตั้งชื่อเป็น "รุ่นสำหรับการศึกษา 1.0.27"
  • บทความที่มีการกำกวมควรมีการเขียน "(แก้ความกำกวม)" ต่อหลังจากชื่อเรื่องของบทความที่มีความกำกวม เช่น ปลา (แก้ความกำกวม)

การเขียน[]

ดูเพิ่มเติมที่: Help:Official sources

เนื่องจากจุดประสงค์หลักของวิกินี้คือการเสนอข้อเท็จจริง คุณควรหลีกเลี่ยงการคาดเดา และการให้ข้อมูลที่ไม่มีแหล่งที่มาที่หน้าเชื่อถือ โดยกล่าวแล้ว ข้อมูลที่ไม่ต้องการแหล่งที่มา คือข้อมูลสามารถเห็นได้ในเกม หรือเป็นข้อมูลที่เห็นได้อย่างเด่นชัด โดยข้อมูลอื่นๆ เช่นคำพูดจากบุคลากรจากบริษัท Mojang Studios และข้อมูลที่ไม่ได้เป็นที่ทราบทั่วไป ควรมีอ้างอิงอย่างชัดเจน ใช้แม่แบบ {{citation needed}} ต่อจากข้อมูลที่ต้องการแหล่งที่มา ห้ามเพื่มเนื้อหาไปยังบทความหากคุณยังหาแหล่งที่มาที่เหมาะสมยังไม่ได้

บทความในเนมสเปซหหลัก ควรเขียนในมุมมองของบุคคลที่สาม และไม่มีข้อกำหนดอ้างอิงถึงบุคคลที่อ่าน โดยจะยกเว้นในหน้าคู่มือสอนเล่น ซึ่งในกรณีส่วนใหญ่ "คุณ" จะเป็นลักษณะนามที่เหมาะสมที่สุดเมื่อทำการอ้างอิงถึงผู้เล่น หรืออาจใช้คำว่า "ผู้เล่น" ก็สามารถใช้ได้ ยกตัวอย่างประโยคเช่น "คุณไม่ควรที่จะไปอยู่ใกล้กับครีปเปอร์ เพราะพวกมันจะระเบิด และอาจฆ่าคุณได้" ควรเขียนเป็น "ที่จะไปอยู่ใกล้กับครีปเปอร์ เพาะพวกมันจะระเบิด และอาจฆ่าผู้เล่นได้"

ในการเน้นข้อความอาจใช้, ตัวเอียง แต่อย่าใช้ ตัวหนา

ข้อมูลคู่มือสอนเล่นควรอยู่ในบทความคู่มือสอนเล่นเท่านั้น ซึ่งรวมไปถึงคุณสมบัติของบล็อก หรือเทกซ์เจอร์ คู่มือสอนเล่นอาจมีลิงก์ไปยังบทความอื่นได้ หากเกี่ยวข้อง

ข้อมูลม็อดต่างๆ ไม่ควรอยู่ในบทความหลักที่เกี่ยวกับม็อด และไม่อนุญาติให้ทำการลิงก์บทความม็อดไปยังบทความม็อดอื่น

ในการเขียนทับศัพท์ภาษาต่างประเทศเป็นคำอ่านภาษาไทย และไม่ในใจว่าการทับศัพท์นั้นถูกต้องหรือไม่ตามหลักการฯ โปรดใช้{{ตรวจสอบการทับศัพท์}}

  • เช่น Jens Bergensten (ไทย: เยนส์ แบร์เยนสเตียน)[ตรวจสอบการทับศัพท์] เป็นพนักงานใน...

ทำให้บทความกระชับและทันสมัย[]

เว็บย่อ
MCW:UPTODATE

โดยสรุปแล้ว บทความควรประกอบไปด้วยข้อมูลที่ทันสมัย เป็นปัจจุบัน กล่าวคือเป็นเนื้อหาที่มีอยู่ในตัวเกมรุ่นเต็ม และปัจจุบัน และเนื้อหา หรือส่วนใดก็ตามที่ล้าสมัยแล้ว คสรถูกย้ายไปยังส่วน ประวัติ ของหน้าบทความ และเมื่อมีสิ่งใดเปลี่ยนแปลง ให้หมายเหตุการเปลี่ยนแปลงในส่วนประวัติ และทำการนำข้อมูลที่ล้าสมัยออกจากบทความ ซึ่งไม่จำเป็นในการกล่าวถึง เมื่อมีการพูดถึงฟีเจอร์ที่มีคุณลักษะเฉพาะ; นี่เป็นการสงวนสำหรับส่วนประวัติของบทความอีกครั้ง ยกตัวอย่างเช่น "การแลกเปลี่ยน, ซึ่งถูกเพิ่มเข้ามาในตัวเกมรุ่น 1.3.1, ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่อนุญาติให้ผู้เล่นสามารถทำการแลกเปลี่ยนกับชาวบ้านได้โดยการใช้มรกต (ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นทับทิมมาก่อน) ในการแลกเปลี่ยนกับไอเท็มอื่นๆ กลับมา" ควรเขียนเป็น "การแลกเปลี่ยนนั้นเป็นฟีเจอร์ที่อนุญาติให้ผู้เล่นแลกเปลี่ยนมรกตไปยังไอเท็มอื่นๆได้"

นี่เป็นตัวอย่างสำหรับเขียนบทความที่ไม่ดี ซึ่งจะใช้บทความของท่อนไม้ ซึ่งเคยถูกเรียกว่า ท่อน นี่เป็นคำแนะนำอย่างสมบูรณ์ จะทำการเน้นข้อความโดยใน สีเหลือง ที่เป็นข้อมูลฟุ่มเฟือย, และเน้นข้อความในสีชมพู ในข้อมูลที่เป็นประวัติศาสตร์

บทความนี้เป็นบทความจากอดีต อาจประกอบด้วยเนื้อหาที่ล้าสมัยแล้ว

ท่อนไม้ (ซึ่งเคยถูกเรียกว่า ท่อน) เป็นชนิดของบล็อกหนึ่ง ถูกเพิ่มเข้ามาใน Minecraft ในรุ่น 0.0.14a ในโหมดเกมสร้างสรรค์ ซึ่งมีเทกซ์เจอร์เป็นส่วนของเปลือกไม้ในทุกด้านข้างของบล็อก, และมีหน้่าตัดเห็นเนื้อไม้บริเวณด้านบน และด้านล่าง โดยส่วนของโลกที่เกิดก่อนการอัพเดต Beta 1.2 จะพบแต่เพียงท่อนไม้โอ๊กเท่านั้น ซึ่งต้นไม้ที่เกิดตามธรรมช่ติหลังจากรุ่นๆ นี้จะพบม่อนไม้เบิร์ช และท่อนไม้สนปะปนอยู้่ด้วย ไม้ที่พบได้อยู่ทั่วไปในโลกนั้นจะเป็นฐาน และแกนลำต้นของต้นไม้ ไม้นั้นสามารถถูกตัดด้วยมือเปล่าของผู้เล่น หรือตัดได้อย่างเร็วขึ้น โดยการใช้ขวาน ไม้นั้นเป็นวัตถุที่ไวไฟ และติดไฟได้

จากท่อนไม้ประเภทต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน, ท่อนไม้เบิร์ชนั้นเป็นชนิดที่หายากที่สุดซึ่งพวกมันนั้นถูกมันใช้เป็นส่วนประกอบของต้นไม้ และมักนำไปใช้ในการสร้างบ้านไม้ ในรุ่น Survival Test, บล็อกท่อนไม้จะดรอปไม้แปรรูปที่ 3–5 บล็อก เมื่อโดนขุด/ตัด ในรุ่น Indev, Infdev, Alpha, และ Beta, การขุด/ตัดบล็อกท่อนไม้ จะเป็นการดรอปบล็อกท่อนไม้แทน ซึ่งนี้เป็นการทำให้สามารถใช้ท่อนไม้ในการสร้างได้ และสามารถเปลี่ยนไปเป็นบล็อกไม้แปรรูปทีหลังได้

ท่อนไม้นั้นสามารถคราฟต์ไปเป็นไม่แปรรูปได้ 4 บล็อก และท่อนไม้ยังสามารถนำไปเผาในเตาเผาในการทำถ่านไม้ ที่มีประสิทิภาพเท่ากับถ่านหิน

ในการอัพเดตรุ่น Beta 1.2 update ในวันที่ 13 มกราคม 2011, เป็นการเพิ่มไม้ชนิดต่างๆ เข้ามาในตัวเกม ทำให้มีไม้อยู่ทั้งหมด 4 ชนิด ไม้ที่มีได้แก่ ไม้ที่มีอยู่แล้วคือไม้โอ็กสีน้ำตาลธรรมดา, แล้วมีการเพิ่มไม้เบิร์ชที่มีเปลือกไม้สีขาวเทา และเพิ่มไม้ที่มีลักษณะเหมือนไม้โอ้กปกติแต่จะมีสีที่เข้มกว่า ปรากฎเป็นไม้สน ซึ่งเป็นไม้ที่สามารถพบได้ในไบโอมที่มีกาศเย็น, และชนิดที่สี่นั้นมีลักษณะคล้ายกับไม้โอ้ก แต่มีสีที่ต่างกัน และมีรอยตะแคงตรงด้านข้างด้านหนึ่ง ซึ่งไม้เหล่านี้หากนำไปคราฟต์ ก็จะได้ไม้แปรรูปที่มีชนิดต่างกัน ซึ่งไม้จากต้นไม้ที่ต่างชนิดกัน หากเก็บเข้าไปในช่องเก็บของแล้ว จะไม่สามารถรวมอยู่ในช่องเดียวกันได้ ถึงแม้ว่าไม้แปรรูปจะรวมกันได้ไม้แปรรูปของท่อนไม้เหล่านี้มีลักษณะเหมือนกันทุกประการ ต้นไม้เบิร์ชนั้นจะมีสีของใบไม้ที่ถูกจางกว่าต้นไม้ปกติ ใบไม้ของต้นสนจะสามารถพบลูกสนเล็กๆ ได้ และไม้ป่าดวงดิบนั้นจะสามารถพบผลไม้สีเขียวๆ ทรงต่างๆ กัน ได้อยู่ทั่วไป

ไม้ชนิดต่างๆ ทั้ง 4 ชนิดถูกเพิ่มเข้ามาครั้งแรกในรุ่นการพัฒนา 12w03a, ซึ่งในตอนนั้นจะพบได้แต่ในไบโอมป่าดิบชื้น, จะสามารถพบไม้ที่มีเทกซ์เจอร์ต่างไปจากต้นไม้ปกติ และสามารถพบต้นไม้ที่มีความสูงมาก มีขนาดของลำต้นที่ 2x2 แทนที่จะเป็น 1x1 ในปกติ

โดยปัญหาของบทความนี้คือ มีทั้งข้อมูลเก่าปะปนอยู่กับข้อมูลใหม่ ซึ่งการนำเสนอควรพูดถึงสถาณะปัจจุบันของบล็อกได้ตรงกับรุ่นในปัจจุบัน โดยข้อมูลทางประวติศาสตร์จากในบทความนี้ถือว่าอยู่ในระดับที่ดี แต่ไม่ชัดเจน ควรจะย้ายข้อมูลที่ล้าสมัยในบางส่วนไปอยู่ในส่วนประวัติของหน้า

ในอนาคต[]

เว็บย่อ
MCW:FUTURE

ในการเพิ่มอัพเดตที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้น อาจถูกเพิ่มเข้าไปยังหน้าเนื้อหาหลักของบทความได้ ศึ่งจะต้องทำการใสช่แม่แบบ {{กำลังมา}} กำกับไว้ ซึ่งมักจะเป็นฟีเจอร์ที่สามารถพบได้จากรุ่นที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา ซึ่งการอัพเดตนั้นจะเป็นการเปลี่ยนเนื้อหาหลักไปอย่างเห็นได้ชัดของบทความ และเนื้อหานั้นอาจมีหมายเหตุไว้ในส่วนย่อยของบทความ หรือในหัวข้อย่อยที่ให้ตั้งชื่อว่า กำลังมา ก็ได้เช่นกัน โดยฟีเจอร์ที่กำลังมานั้นต้อมีการให้หมายเหตุอย่างชัดเจนในส่วนประวัติ อย่างชัดเจนภายใต้คอลัมน์กำลังมาอย่าง

ซึ่งถ้าหากรุ่นการพัฒนาได้พัฒนาจนออกมาเป็นรุ่นการอัพเดตอย่างเป็นทางการแล้ว เนื้อหาที่ล้าสมัยต้องย้ายไปอยู่ในส่วนประวัติ หรือนำออกไปในที่สุด และแม่แบบ {{กำลังมา}} ที่เคยใช้งานไปก็ต้องนำออกเช่นกัน

การสะกด[]

โดยหน้าต่างๆ ของวิกิควรใช้ ภาษาไทยกลาง ที่อยู่ในระดับทางการ หรือกึ่งทางกลาง และพยายามใช้ภาษาไทยให้มากที่สุดที่เป็นไปได้ โดยคำนึ่งถึงคำแนะนำการเขียนในข้ออื่นๆ ยกเว้นบางกรณีเช่นคำสั่งต่างๆ และอาจใช้ภาษษอังกฤษเพื่อแยกความกำกวมที่เกิดจากการแปลภาษาไทย แม่แบบบางชนิด มอดูล และสคริปต์ภาษาลูอาต่างๆ รวมไปถึงหน้่าเปลี่ยนทาง เพื่อความสะดวกในการค้นหาด้วยคำศัพท์ภาษาอังกฤษ และพยายามยึดถือแนวทางการใช้คำศัพท์และคำแปลจากหน้ารายการคำศัพท์และคำแปล โดยภาษาอังกฤษที่ใช้ ให่พยายามใช้เป็นภาษาอังกฤษอเมริกัน (American English) ยกเว้นจะเป็นการสะกดแบบภาษาอังกฤษสหราชอาณาจักร (British English) เช่น, "colour" ควรเขียนเป็น "color" และ "centre" ควรเขียนเป็น "center"

หัวเรื่อง[]

เว็บย่อ
MCW:HEADINGS

หัวเรื่องแรกของบทความควรเริ่มด้วยหัวเรื่องลำดับที่ 2 (เครื่องหมาย 2 ตัว) และค่อยเพิ่มลำดับไปเรื่อยๆ ตามลำดับของหัวเรื่องย่อย และห้ามใช้หัวเรื่องลำดับที่ 1 (เครื่องหมายเท่ากับ 1 ตัว)

ซึ่งหัวเรื่องนั้น ไม่ควรที่จะมีลิงก์อยู่ในตัวมัน; ลิงก์ต่างๆ ควรอยู่ด้านล่างของหัวเรื่อง, เช่นการใช้แม่แบบ "บทความหลัก:" เป็นต้น

และควรเว้นวรรคระหว่างตัวชื่อของหัวเรื่อง กับเครื่องหมายเท่ากับทั้งสองฝั่ง ถ้าบทความหลักใด มีความต้องการใช้รูปภาพประกอบ ควรใส่ไว้ในบรรทัดแรกที่ถัดจากหัวเรื่อง และทำการเว้นบรรทัดไว้ 1 บรรทัด ก่อนเริ่มการเขียนส่วนเนื้อหา

ห้ามเพิ่มส่วนของหน้าที่ไม่มีเนื้อหา

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมแนวทางของการเขียนบทความ โปรดดูเพิ่มที่เค้าโครงบทความ

ตัวเอน[]

การพูดถึง "Minecraft " ก็ควรจะใช้ตัวเอียง และชื่อของเกมอื่นๆ ที่พูดถึงก็ควรใช้ตัวเอียงเช่นกัน เช่น: "Team Fortress 2".

Official Minecraft edition names used as subtitles, such as "Java Edition" and "Education Edition" should be in italics; other edition names, such as "Bedrock Edition" and "Legacy Console Edition", should not.

Additionally, if an edition name is also referring to a specific version, it should not be in italics. For instance: "Java Edition 1.16" should not be in italics, whereas "Java Edition" should.

รูปภาพ[]

เว็บย่อ
MCW:IMAGES

เมื่อทำการเพิ่มภาพถ่ายหน้าจอไปยังบทความ ให้แน่ใจว่าภาพถ่านหน้าจอนั้นใช้เทกซ์เจอร์พื้นฐานของเกม ไม่ได้ใช้เทกซ์เจอร์แพ็ค ม็อบหน้าตาเมนู หรือส่วนที่ปรับปรุงเองนั้นไม่ได้รับอนุญาติ ให้เพิ่มเข้ามา ซึ่งจะยกเว้นกับบทความที่พูดถึง ม็อด เทกซ์เจอร์แพ็ค หรือม็อดต่างๆ

ภาพที่จะเพิ่มเข้ามาในบทความ มีแนวทางปฏิบัติดังนี้:

  • รูปภาพควรแสดงถึงคุณลักษณะของหัวข้อของบทความ
    • รูปภาพไม่ควรแสดงพฤติกรรมที่แปลก หรือความตลกโดยไม่ตั้งใจ, อย่างเช่น ม็อบที่กำลัง"นั่ง"อยู่บนบันได
    • ภาพนั้นไม่ควรมีจุดประสงค์ในการแสดงถึงบั๊กเพียงอย่างเดียว ให้ไปทำการรายงานบั๊กในเว็บไซต์รายงานบั๊กอย่างเป็นทางการ
  • บทความควรมีภาพเดียวที่แสดงคุณลักษณะเฉพาะของเนื้อหาบทความ ตัวอย่างเช่น ซอมบี้กำลังสวมชุดเกราะ
  • ภาพนั้นควรปรับปรุงให้ทันสมัยกับเนื้อหาของเวอร์ชั่นล่าสุดของเกม
    • ภาพที่ล้าสมัยนั้น ควรถูกนำออกไป ยกเว้น ภาพที่มีจุดประสงค์ด้านประวัติ

การลิงก์[]

สำหรับคู่มือการลิงก์ฉบับเต็ม โปรดอ้างอิงตาม คู่มือการสร้างลิงก์ จากวิกิพีเดียภาษาไทย, แม้ว่าโปรดทราบว่านโยบายบางส่วนเกี่ยวกับการลิงก์ที่แตกต่างอยู่ในวิกินี้

การสร้างลิงก์ ผ่านการเชื่อมโยงหลายมิติหรือไฮเปอร์ลิงก์ ที่รวบรวมลิงก์ภายในเข้าด้วยกัน ให้เชื่อมโยงถึงกันทั้งหมด ส่วนการเชื่อมโยงข้ามหน้า จะเชื่อมโหน้าอื่นเข้ามา

การสร้างลิงก์ที่เหมาะสมเป็นวิธีที่จะระบุตำแหน่งในและนอกโครงการที่จะช่วยให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจเนื้อหาเพิ่มเติมได้ง่าย เมื่อเขียนหรือแก้ไขบทความวิกิ สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณา ไม่เพียงว่าจะนำอะไรใส่ลงในบทความ แต่การสร้างลิงก์ที่ช่วยให้ผู้อ่านได้ข้อมูลที่สัมพันธ์กัน เช่นเดียวกับหน้าอื่น ๆ ก็ควรมีลิงก์เชื่อมโยงสู่บทความ สิ่งที่ควรเอาใจใส่คือควรหลีกเลี่ยง การทำลิงก์มากเกินไป และ การทำลิงก์น้อยเกินไป จากคำอธิบายดังกล่าวด้านล่าง

แนวทางการลิงก์มีดังนี้:

  • คำที่ใช้ในการลิงก์นั้น ห้ามเกิน 10 เปอร์เซ็นต์ของคำในบทความ
  • เว้นแต่ว่าจะมีผลกระทบต่อการใช้ถ้อยคำและการอ่านประโยคในทางลบลิงก์สองลิงก์ไม่ควรอยู่ติดกันในข้อความเพื่อให้ดูเหมือนเป็นลิงค์เดียว
  • Links for any single term should not be excessively repeated in the same article. Excessive linking is defined as multiple use of the same term, in a line or a paragraph, which will almost certainly appear needlessly on the viewer's screen. Remember, the purpose of links is to direct the reader to a new spot at the point(s) where the reader is most likely to take a temporary detour due to needing more information.
  • Duplicating an important link distant from a previous occurrence in an article may well be appropriate. If an important term appears many times in a long article, but is only linked once at the very beginning of the article, it may actually be underlinked. Indeed, readers who jump directly to a subsection of interest must still be able to find a link. But take care in fixing such problems, the distance between duplicate links is an editor's preference, however if in doubt duplicate the term further down the article.

Linking to a redirect is preferred over using a piped link except in templates and other pages that will be transcluded. When a piped link is unavoidable, it should not point to a redirect. If a redirect can be avoided using a suffix on the link, that is preferred. E.g. Using [[Creeper]]s instead of [[Creepers]] is desired.

รูปแบบของวันที่ และเวลา[]

รูปแบบเวลาของไมน์คราฟต์วิกิภาษาไทยนี้จะใช้รูปแบบเป็น วันที่ เดือน ปีพุทธศักราช หรือ วว/ดด/ปปปป โดยปีที่ใช้ให้เป็นปีพุทธศักราช (ปีพุทธศักราช = ปีคริสตศักราช + 543)

คำสั่ง[]

In-game commands should be in a specific format for ease of understanding. Literal keywords that must be typed in chat do not have any brackets for formatting applied (e.g., /data merge). Variables must be inside angle brackets and should be italic (e.g., <target>). Optional content must be inside square brackets, but these brackets should not replace any angle brackets (e.g., [<scale>] is an optional variable whereas [scale] is an optional keyword). A list of valid keywords should be placed in parentheses with each option separated by a pipe (e.g., (eyes|feet). In the example /advancement (grant|revoke) <targets> only <advancement> [<criterion>], /advancement and only are literals to be typed exactly as-is in chat, (grant|revoke) is a list of choices for literal text where either grant or revoke must be typed in chat, <targets> and <advancement> are compulsary variables which must be replaced with valid values, and [<criterion>] is an optional variable which must be replaced with a valid value.

ไฟล์[]

File names should be consistent so they are easier to find. Files used in the infobox of articles should be titled with the exact name of the subject as seen ingame using en-US (when possible), and must be an isometric render. Old revisions of files should take the format of "Subject JEX BEY", where X and Y are the revision numbers for Java Edition and Bedrock Edition, respectively. This number is incremented each time the texture is updated in game (e.g., not in teaser images). "Subject" should redirect to the most recent revision. If the current textures for Java Edition and Bedrock Edition differ, "Subject" will redirect to the Java Edition texture, while "Subject BE" will redirect to the Bedrock Edition texture. Textures added in snapshots should follow this naming convention, though "Subject" should not redirect to the texture until it is included in a full release.

For example, the texture files for cobblestone would go as follows:

  • "Cobblestone JE1.png"
  • "Cobblestone JE2.png"
  • "Cobblestone JE3 BE1.png"
  • "Cobblestone JE4 BE2.png"
  • "Cobblestone JE5.png"
  • "Cobblestone JE6 BE3.png"
    • "Cobblestone.png" redirects here.

The "Subject JEX BEY" files should be used in places where the texture shouldn't change if the texture is updated, such as history sections and version guides. The "Subject" files should be used in places where the texture should always be up to date, such as infoboxes.

เค้าโครงบทความ[]

เว็บย่อ
MCW:LAYOUT

เพิ่มความสม่ำเสมอของเค้าโครงของบทำความ, ทุกบทความในแต่ละชนิดของบทความควรเป็นไปตามเค้าโครงทั่วไป ดังนี้

  • ที่บริเวณด้านบนสุด ควรเป็นที่อยู่ของแม่แบบ และ flags ต่างๆ, เช่นแม่แบบ {{snapshot}} สำหรับบทความของสิ่งที่ยังไม่ถูกเพิ่มเข้ามาในตัวเกมปัจจุบัน แต่สามารถพบได้ในรุ่นสแนปช็อต, แม่แบบ {{Block}} สำหรับบล็อกต่างๆ, ฯลฯ
  • บทนำพร้อมคำอธิบายทั่วไป
  • เนื้อหาของบทความเริ่มต้นด้วยส่วนหัวแรก

โปรดระวังการใช้แม่แบบประเภทกล่องข้อความ: การใช้กล่องข้อความมากเกินไปนั้นนั้นจะไม่เกิดประโยชน์ โดยหากหน้านั้นมีกล่องข้อความอยู่แล้ว โดยอาจย้ายกล่องข้อความนั้นไปยังส่วนของบทความ หรืิอใต้หัวเรื่องที่เกี่ยวข้องกับแม่แบบกล่องข้อความนั้นที่สุด

ถ้าบทความไม่เป็นไปตามแนวทางนี้ สามารถเสนอแนวทางข้อคิดเห็นไปยังหน้าพูดคุยได้; มิฉะนั้น ,พยายามใช้เค้าโครงที่เป็นไปตามรูปแบบที่คล้ายกันกับเค้าโครงที่มีอยู่ เค้าโครงบทความปัจจุบันประกอบด้วย:

Advertisement